Skip to content

การพัฒนาระบบบำรุงรักษาด้วยอินเทอร์เน็ตทุกสรรพสิ่ง(IoT)​

โกศล  ดีศีลธรรม

ผู้จัดการทั่วไป(General Manager)

บริษัท อีควิตี้ เซอร์วิสเซส แอนด์ โซลูชั่นส์ จำกัด(Equity Services and Solutions)

kosol@esspower.com

   สำหรับภาคอุตสาหกรรมไทยส่วนใหญ่ คือ โรงงานขนาดกลางและขนาดย่อม(SME) ระดับความพร้อมโรงงานกลุ่มนี้ ตามข้อมูลสำรวจผู้ประกอบการธุรกิจ SME ส่วนใหญ่ต่ำกว่าระดับอุตสาหกรรม 3.0(การใช้ระบบอัตโนมัติและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ควบคุม) โดยค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 2.2-2.5  ดังนั้นความสำคัญอินเทอร์เน็ตทุกสรรพสิ่ง(IoT) โรงงานขนาดกลางและขนาดย่อม(SME) คือ การเชื่อมต่ออุปกรณ์หรือเครื่องจักรให้แลกเปลี่ยนข้อมูล​กันได้ รวมถึงการขยายผลการตรวจติดตามเครื่องจักร(Monitoring)​ทั้งสายการผลิต แต่ระบบ IoT โรงงาน SME ส่วนใหญ่ คือ ระบบตรวจสอบแบบดึงข้อมูลมาแสดงผล(Passive Monitoring) ไม่ถึงระดับที่ต้องควบคุมเครื่องจักร ซึ่งไม่ได้ทดแทนฟังก์ชันการควบคุมเหมือนระบบใหญ่ เช่น การควบคุมเครื่องจักรบางประเภท ต้องการค่าเวลาหน่วงต่ำ(Latency) ควรพิจารณาสภาพเครือข่ายหรือการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตระหว่างอุปกรณ์กับ IoT คลาวด์ด้วย ผู้ประกอบการ SME หลายรายเริ่มเข้าใจว่าข้อมูลที่ได้รับจาก IoT ช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพ สามารถลดต้นทุนการผลิตได้จริง สำหรับ IoT กลุ่มอุตสาหกรรมขนาดใหญ่จะมีความพร้อมประยุกต์ใช้ IoT อีกทั้งมีงบประมาณหรือทรัพยากรเพียงพอ บางส่วนมีการเชื่อมต่อเครื่องจักรหรืออุปกรณ์โรงงานเข้ากับเครือข่าย สามารถรวบรวมข้อมูลต่างๆ มาสู่ศูนย์กลางได้ แต่ยังมีช่องว่าง(Gap)การบูรณาการข้อมูลระหว่างเครื่องจักรทั้งหลายระดับตั้งแต่สายการผลิต(Shop Floor) จนถึงระบบ ERP

          เนื่องจากเป็นการเก็บข้อมูลจำนวนมากแต่ไม่สามารถใช้ประโยชน์เต็มที่ นั่นคือ ระบบการผลิตยังไม่มีฟังก์ชันระบบปฏิบัติการผลิต(Manufacturing Execution System)หรือ MES รวบรวมข้อมูลสายการผลิตทั้งหมดมาใช้ประโยชน์ระดับสูงขึ้น ทั้งนี้โรงงานขนาดใหญ่อาจมองข้ามปัจจัยบางอย่างที่อาจมีผลต่อการผลิต จึงต้องมีระบบตรวจติดตามทุกขั้นตอนการผลิตและวิเคราะห์พารามิเตอร์ต่างๆ จึงจำเป็นต้องติดอุปกรณ์เพิ่ม อย่าง เซนเซอร์ พร้อมทั้งดึงข้อมูลจากอุปกรณ์ควบคุมเครื่องจักรแต่ละเครื่องอย่าง PLC จากระบบเดิมมารวมไว้กับระบบส่วนกลาง  โรงงานขนาดใหญ่ยังต้องวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อสนับสนุนการบำรุงรักษา เพราะหากเครื่องจักรเสียอาจต้องหยุดสายการผลิตนาน เนื่องจากต้องนำเข้าชิ้นส่วนจากต่างประเทศและใช้เวลาซ่อมบำรุงนาน ทำให้การตรวจสอบเพื่อทำ Smart Maintenance มีความสำคัญที่โรงงานขนาดใหญ่ต้องพิจารณานอกเหนือการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ดังกรณีการใช้อุปกรณ์  V-Starter Smart Vibration Analyzer   วิเคราะห์ความสั่นสะเทือนเครื่องจักร ตรวจสอบสภาพเครื่องจักร หรือการใช้ Shaft Alignment Tool อย่าง Vibro-Laser เพื่อปรับความเยื้องศูนย์(Mis-Alignment)

         ส่วนการสร้างระบบสารสนเทศงานบำรุงรักษาจะนำเทคโนโลยีสนับสนุนงานบำรุงรักษาเพื่อเก็บบันทึกข้อมูลสำคัญ อาทิ ประวัติเครื่องจักร  ค่าใช้จ่ายการซ่อมบำรุง ความถี่การซ่อม ประเภทงานซ่อม สาเหตุหลักของปัญหา เป็นต้น  ดังนั้น IoT ช่วยทำให้ข้อมูลจากส่วนต่างๆ ถูกบูรณาการระดับโรงงาน  โดยเฉพาะฝ่ายผลิตกับฝ่ายบำรุงรักษามักแยกกันทำงาน โดยฝ่ายบำรุงรักษาทำหน้าที่ดูแลสภาพเครื่องจักรตามรอบเวลาหรือการซ่อมเมื่อเครื่องจักรเสีย(Breakdown Maintenance) หากใช้ IoT จะเกิดการประสานระหว่างข้อมูลฝ่ายผลิตกับการดูแลบำรุงรักษาเครื่องจักร ทำให้การวางแผนการผลิตเกิดประสิทธิภาพ หากโรงงานมีระบบการบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์(Predictive Maintenance) ช่วยทำให้เกิดการลดต้นทุน โดยไม่ต้องถอดเปลี่ยนชิ้นส่วนอะไหล่ที่ยังใช้งานได้ก่อนจะเสียจริง และเพิ่มผลิตภาพมากขึ้น เนื่องจากสามารถลดระยะเวลาการหยุดเครื่องเพื่อทำการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน(Preventive Maintenance) นอกจากนี้โรงงานควรประเมินสมรรถนะระบบ(Performance) ด้วยตัวชี้วัดต่างๆ ซึ่งการเข้าถึงข้อมูลจะนำไปสู่การวางแผนและการตัดสินใจที่รวดเร็ว ตามอุปสงค์หรือคำสั่งซื้อของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงต่อเนื่อง ทำให้การวางแผนการผลิตและการส่งมอบสินค้าทันเวลาตามคำสั่งซื้อ(Just In Time) สอดคล้องกับเป้าหมายอุตสาหกรรม 4.0 ที่ต้องบูรณาการกระบวนการทั้งห่วงโซ่อุปทานจนถึงการส่งมอบให้ลูกค้า

   สำหรับท่านที่สนใจเนื้อหาสาระและข้อมูลดี ๆ ด้านการบำรุงรักษาหรือโซลูชั่นส์และงานบริการต่าง ๆ สามารถลงทะเบียนและติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.esspower.com

Please Login to Comment.